การมีร้านค้าหรือธุรกิจส่วนตัวบนโลกออนไลน์ ส่วนหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือประสิทธิภาพของร้านค้า เจ้าของกิจการเองก็อยากรู้ว่าลูกค้าเราสนใจในผลิตภัณฑ์ หรือหมวดสินค้าเราอย่างไร วันนี้จะพูดถึงร้านค้าหรือเจ้าของธุรกิจที่มีเว็บไซต์ มีสินค้าและบริการ เราจะเช็คได้อย่างไรว่า สินค้าและบริการบนเว็บไซต์ของเรา มีความสนใจต่อลูกค้ามากน้อยเพียงใดหรือลูกค้าค้นหาคีย์เวิร์ดมากจากคำไหน วันนี้เราจะพามาแนะนำกับอีกหนึ่งเครื่องมือในการวัดดัชนีและประสิทธิภาพของเว็บไซต์เรา โดยใช้เครื่องมือ Google Search Console
Google Search Console (ชื่อเดิมคือ Webmaster Tools) เป็นเครื่องมือแบบใช้งานฟรี ของ Google ที่จะช่วยตรวจสอบประสิทธิภาพแลัววัดดัชนีเว็บไซต์ และที่สำคัญ ช่วยให้เราดูว่า Google ถูกใจเว็บเราแค่ไหน แล้วมีส่วนไหนที่เว็บไซต์ผิดพลาดควรแก้ไขจุดไหน วันนี้เราจะพามาดูทั้งการติดตั้งและการดูตัวอย่างแต่ละฟังค์ชั่น ในฉบับ 2020 สำหรับผู้เริ่มต้น
สิ่งหนึ่งที่เราต้องเตรียมคือ บัญชี Gmail วิธีสมัคร Gmail ถ้าเราพร้อมแล้วไปลุยกันเลย
1. พิมพ์หน้าค้นหาของ Google ว่า Google search console แล้วคลิกเข้าเว็บไซต์
หรือสามารถเข้าด้วยวิธิลัดจากลิงค์นี้เลยจร้า : เข้าไปที่ https://search.google.com/search-console/welcome
จากนั้นให้เราป้อนชื่อเว็บไซต์ของเรา (https://www.example.com) ตรง tab คำนำหน้า URL
** ถ้าขึ้นแบบนี้แสดงว่าเว็บยังไม่เคยลงทะเบียนกับบริการอื่นๆของ Google เลย เช่น Google Analytic หรือ Google Tag Manager แนะนำให้กลับไปลงทะเบียนและติดตั้งทั้ง 2 ตัวก่อน (ว๊าาาแย่จัง ไม่ได้ไปต่อ)
** ถ้าขึ้นแบบนี้แสดงว่าลงทะเบียนกับ google search console เรียบร้อยแล้ว โดยการยืนยันแบบอัตโนมัติที่อ้างอืงจาก google tag manager ที่เราลงทะเบียนเว็บไว้แล้ว
2. หน้าตรวจสอบความถูกต้องของเว็บไซต์และการยืนยันความเป็นเจ้าของเว็บไซต์
หน้าตรวจสอบ URL เป็นหน้าที่เอาไว้ตรวจสอบ URL ในเว็บว่ามีการ Crawler หรือ Index หน้าเว็บนี้ไปแล้วหรือยัง และมีปัญหาอะไรหรือไม่ พร้อมคำแนะนำการแก้ไขปัญหาถ้ามี
ตัวอย่างหน้าที่มีการ Chawler และ Index (index คือ Google เข้ามาตรวจสอบและเก็บข้อมูลสถิตเว็บไซต์) ไปแล้ว
ตัวอย่างหน้าที่มีการ Chawler และ Index ไปแล้ว แต่มีปัญหา ในกรณีแบบนี้แนะนำให้แก้ไขตามคำแนะนำของ Google ให้เรียบร้อยนะครับ เพราะจะมีผลต่อการค้นหาของลูกค้าหรือผู้ใช้งาน
ตัวอย่างหน้าที่ไม่มีการทำ Index ของ Google อาจจะเนื่องจากหลายๆปัจจัย เราสามารถขอให้ Google มา Index หน้ารี้ได้เองโดยกด “ขอให้มีการทำดัชนี”
หน้าความครอบคลุม เป็นหน้าที่แสดงสถานะโดยรวมของเว็บทั้งหมด ให้แก้ไขใน URL ที่เกิดข้อผิดพลาดและ URL ที่ยกเว้น ประเภท ไม่พบ(404)
ไม่พบ(404) หมายถึงหน้าที่มีการ Chawler และ Index แล้วแต่หายไป ซึ่งอาจจะเกิดจากมีการเปลี่ยน URL ของเจ้าของเว็บหรือ หน้าเว็บนั้นไม่มีอยู่แล้ว
ตัวอย่างหน้าที่แสดงสถานะ ไม่พบ(404)
แก้ไขโดยการแจ้งให้ Google ลบหน้านี้ออก โดยให้ไปที่ เมนู “การนำออก”
- กดเมนู “การนำออก”
- เลือก “การนำออกชั่วคราว” และป้อน URL ที่ต้องการนำออก จากนั้นกด “ถัดไป”
- กด “ส่งคำขอ”
*ในการส่งคำขอให้ทาง Google นำURL ออก จะใช้เวลาสักระยะ จะไม่มีผลทันที
3. หน้าแสดง Site map หรือผังเว็บไซต์
ผังเว็บไซตเป็นฟังค์ชั่นที่เราส่งไฟล์ XML ให้ Google เข้ามาเก็บหน้า index หรือพูดง่ายๆคือเมื่อเราทำเว็บไซต์เสร็จหรือมีการสร้างหน้าเว็บใหม่ขึ้นมา เราจะทำการส่งงานให้ Google
หน้า “แผนฝังเว็บไซต์”
เป็นหน้าที่เอาไว้เพื่อให้เจ้าของเว็บไซต์ส่งข้อมูลแผนฝัง เพื่อให้ Google bot เข้ามาจัดทำ Crawler และ Index ได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่าง Sitemap ที่ส่งไป
หน้าแสดงรายละเอียดข้อผิดพราดต่างๆ จาก url sitemap ที่ส่งไป
เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นแล้วนะครับ ทั้งกระบวนการติดตั้งและการเข้าใช้ฟังค์ชั่นแต่ละเมนู รายละเอียดลึกๆ เพื่อนๆสามารถลองหัดใช้เรื่อยๆเราจะได้ชินและเก่งขึ้นครับ
0 ความคิดเห็น