สำหรับใครที่ยังไม่เคยใช้เครื่องมือฟรีดีๆ ก็ลองมาอ่าน วิธีใช้ Google Keyword Planner กันเลยดีกว่า ส่วนใครที่เคยทำ SEO อยู่แล้วก็จะคุ้นเคยกันดีกับเครื่องมือตัวนี้ เพราะเกี่ยวข้องกับการทำ Google Ads และการทำ SEO SEM ในระดับที่มากพอสมควร
สำหรับใครที่คิดว่าตัวเครื่องมือนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเราต้องเสียเงินจ่ายค่าโฆษณา และต้องมีเว็บไซต์ แต่จริงๆ แล้วยังไม่ต้องมีสิ่งเหล่านี้ก็สามารถเข้าไปใช้ฟรีๆ กันได้เลย เพียงแค่คุณมีบัญชีของ Google Ads ก็สามารถสมัครล็อกอินใช้งานได้ทันทีเพื่อใช้งาน Keywords Planner ฟรี แต่ถ้าใครยังไม่มีก็มาสมัครไปพร้อมๆ กันได้เลย
1. Google Keyword Planner คืออะไร
Google Keyword Planner เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการทำ Google Ads บน Google ซึ่งจะใช้เว็บไซต์และข้อมูลต่างๆ ของเราในการโฆษณา โดยตัวเครื่องมือนี้จะใช้ค้นหาคีย์เวิร์ดต่างๆ เพื่อนำไปทำโฆษณา โดยเราสามารถเลือกเองได้ว่าต้องการใช้คีย์เวิร์ดใดสำหรับทำโฆษณาผ่านตัว Keywords Planner ได้เหมือนกัน
อันนี้คือตัวอย่างที่ใช้ Keyword ในการทำโฆษณา Google Ads ด้วยเว็บไซต์
Keyword Planner ก็รู้จักไปแล้ว เราก็มาทำความรู้จักกับ Keyword (คีย์เวิร์ด) กันด้วยดีกว่า
Keyword คือ คำหรือกลุ่มคำที่ผู้คนใช้ค้นหาสิ่งต่างๆ หรือถ้าเป็นผู้ที่เขียนบทความอาจจะใช้สำหรับเป็นหัวข้อที่จะเขียนเพื่อสื่อสารเรื่องราวต่างๆ ให้กับผู้อ่านได้รับทราบ ซึ่ง Keyword ก็สามารถแบ่งประเภทได้อีกคือ
1.1. Focus Keyword
โดยจะเป็นลักษณะคำสั้นๆ เจาะจงกับการค้นหา เช่น
- โฆษณา Facebook
- ทำเว็บ WordPress
- ขายของออนไลน์
เพื่อช่วยในการกำหนดหัวเรื่องในการเขียนบทความ หรือใช้สำหรับการค้นหา โดยส่วนมากมักจะใช้กับการทำ SEO มากกว่า
1.2. Longtail Keyword
เป็น Keyword ที่มีประโยคยาวๆ หรือพูดง่ายๆ ก็คือคำสร้อยหรือคำขยายความนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น
- โฆษณา Facebook มือใหม่ทำยังไง
- ทำเว็บ WordPress ด้วยธีมสวยๆ ฟรี
- ขายของออนไลน์ขายอะไรดี
ประโยคที่ต่อท้ายไฮไลท์สีแดงนั้นคือคำขยายจาก Focus Keyword อีกที ซึ่งหากรวมประโยคทั้งหมดเข้าด้วยกันจะเรียกว่า Longtail Keyword นั่นเอง
โดยหลักๆ ประเภทของ Keyword ก็จะมีด้วยกัน 2 ประเภทตามที่เกริ่นไว้ตอนแรก แต่นอกจากนี้อาจจะเห็นบทความที่เขียนผิดบ้างก็เป็นได้ เนื่องจากบางทีจะมีคำผิดที่คนนิยมเขียนกันผิดบ่อยๆ จนกลายเป็นว่าคำผิดนั้นมีอัตราความนิยมในการค้นหามากกว่าคำที่เขียนถูกเสียอีก
ยกตัวอย่างเช่น Facebook หากอ้างอิงจากคำทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสภาต้องเขียนว่า “เฟซบุ๊ก” แต่คนดันนิยมค้นหาด้วยคำว่า “เฟสบุ๊ค” มากกว่าเสียอีก สามารถดูได้จากด้านล่างเลย
สำหรับตัว Google Keyword Planner ก็สามารถใช้เช็คปริมาณคร่าวๆ ของ Keyword นั้นๆ ได้เหมือนกัน หากใครที่สมัครใหม่จะแสดงผลโดยประมาณเท่านั้น หากต้องการดูแบบตัวเลขจริงๆ ได้และมีกราฟให้ดู จำเป็นจะต้องใช้จ่ายงบโฆษณาของ Google Ads ในระดับหนึ่งก่อน แล้วทาง Google ถึงจะเปลี่ยนตัวแสดงผล Keyword Planner ให้เราโดยอัตโนมัติ
สำหรับภาพด้านล่างจะเป็นหน้า Google Keyword Planner แบบที่สมัครแล้วแต่ยังไม่ได้ใช้สำหรับการยิงแอด Google มาก่อน ก็จะเป็นหน้าตาตามนี้เลย
2. วิธีสมัครใช้งาน Google Keyword Planner
เริ่มต้นจากการเปิดหน้าของ Google Keyword Planner ก่อน หรือจะค้นหาใน Google ก็ได้แล้วเลือกที่อันแรกเลย พอเข้ามาแล้วก็ไปคลิกที่ “เริ่มเลย” ตรงปุ่มที่อยู่ด้านขวามือ เมื่อกดเข้ามาแล้ว ก็จะเจอหน้าให้ลงชื่อเข้าใช้งาน เราสามารถกรอก Gmail ที่เรามีอยู่ผูกเข้ากับบัญชี Google Ads ก่อนได้เลย เมื่อเราล็อกอินเสร็จก็จะถูกพาไปที่หน้าเลือกบัญชี จากนั้นเราก็เลือกบัญชีที่กรอกอีเมลได้เลย เมื่อล็อกอินด้วยบัญชี Gmail เสร็จเรียบร้อย Google Ads ก็จะนำเรามาที่หน้าในการตั้งค่าแคมเปญ จากนั้นให้เรากดไปที่ “เปลี่ยนเป็นโหมดผู้เชี่ยวชาญ” เพื่อที่เราจะใช้เฉพาะ Google Keyword Planner ส่วนแคมเปญสามารถทำทีหลังได้เมื่อเรากดที่เปลี่ยนเป็นโหมดผู้เชี่ยวชาญแล้วก็จะนำเรามาที่หน้าเป้าหมายธุรกิจเลย ต่อจากนั้นให้เรากด “สร้างบัญชีโดยไม่สร้างแคมเปญ”
3. ศัพท์ที่น่าสนใจก่อนเริ่มหา Keyword
มาดูกันดีกว่าว่ามีคำอะไรบ้างที่ต้องรู้ก่อนหา Keyword เพื่อที่คุณจะได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นว่ามันคืออะไร สามารถดูตามตัวเลขจากรูปด้านบนได้เลย แอดจะไล่ทีละข้อ 1. การค้นหารายเดือนโดยเฉลี่ย คือ ปริมาณการค้นหาต่อเดือนในคีย์เวิร์ดนั้นๆ อย่างคีย์เวิร์ดอาหารไทยของแอดค้นหาอยู่ที่ 10K – 100K ต่อเดือนตัวเลขย่อๆ ของ Google คือจำนวนเท่าไหร่
1K = 1,000
10K = 10,000
100K = 100,000
1M = 1,000,000
2. เพิ่มตัวกรอง สามารถกรองได้ว่าจะให้แสดงรายการใด เช่น การแข่งขันเราก็สามารถเลือกการแสดงผลได้ทั้ง สูง กลาง หรือต่ำ ได้
3. การแข่งขัน หมายถึง ความยากง่ายในการจัดลำดับโฆษณาสูงก็คือมีการแข่งขันในด้านพื้นที่โฆษณาสูงมากนั่นเอง
4. ราคาเสนอสำหรับด้านบนของหน้า (ช่วงต่ำ) คือ ราคา Cost Per Click แต่ละครั้งของการกดเข้าชมโฆษณาที่ถูกที่สุด
5. ราคาเสนอสำหรับด้านบนของหน้า (ช่วงสูง) คือราคา Cost Per Click แต่ละครั้งของการกดเข้าชมโฆษณาที่สูงกว่าที่ผู้ลงโฆษณาเคยจ่ายไป
6. ปรับแต่งคีย์เวิร์ด คือ เป็นการเลือกกรองเกี่ยวกับคอนเทนต์หรือคีย์เวิร์ดที่มาจากแบรนด์ใหญ่ๆ โดยตรง เช่น Facebook Amazon Google โดยจะให้รวมอยู่หรือไม่ก็ได้
7. สามารถเลือกวัน เดือน ปี ที่เกิดการค้นหาคีย์เวิร์ดได้
8. เครือข่ายการค้นหาจะมีให้เลือกเฉพาะ Google ก็ได้หรือจะเลือกทั้ง Google และพาร์ทเนอร์ก็ได้
คำเหล่านี้เป็นคำที่อาจจะต้องทำความเข้าใจ เพื่อที่เราจะได้รู้เกี่ยวกับความหมายและผลลัพธ์ที่ Google แสดง และเพื่อจะได้ใช้ Google Keyword Planner ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
0 ความคิดเห็น